ข้อมูลประเทศลาว

นครหลวงเวียงจันทน์

  • 14 ก.พ. 2567
  • รายละเอียดแขวงประเทศลาว

นครหลวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์ หรือ นะคอนหลวงเวียงจัน (ลาวນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນนะคอนหลวงเวียงจัน) เดิมชื่อ กำแพงนครเวียงจันทน์ (ກຳແພງນະຄອນວຽງຈັນ) เป็นเขตปกครองที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่เมืองหลวงของประเทศลาว เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแขวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเขตการปกครองที่มีการพัฒนามากในบรรดา 17 แขวงของประเทศลาว โดยตั้งอยู่ชิดกับบริเวณโค้งลำน้ำแม่น้ำโขง ติดชายแดนของประเทศไทย โดยมีสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 เชื่อมการเดินทางระหว่างประเทศ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3,920 ตารางกิโลเมตร (1,510 ตารางไมล์) ตัวเมืองเวียงจันทน์ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช บริเวณเขตเมืองเก่าเป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ และสวนสาธารณะพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ใน พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่าอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์จนกระทั่ง พ.ศ. 2321 เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรมย์เมืองเวียงจันทน์ หรือนครหลวงเวียงจันทน์ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ซึ่งนักค้นคว้าภายในและต่างประเทศได้ทำการศึกษาและค้นพบหลักฐานทางวัตถุโบราณอันเก่าแก่เป็นต้นคือ เครื่องมือทำมาหากินทั้งเป็นแบบโลหะและแบบหิน นี้เป็นสิ่งยืนยันว่า ในดินแดนแถบนี้เป็นที่ราบเวียงจันทน์ มีคนได้มาอยู่อาศัยมาแล้วประมาณกว่า 500,000 ปี โดยนักวิจัยสำรวจในปี 2010 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 450 ปี ทางโทรทัศน์แห่งชาติลาวก็ได้มีการเล่าหวนคืนประวัติศาสตร์นครเวียงจันทน์ และนักวิจัยได้ให้ข้อมูลว่า มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่คงเขตนี้แต่แรก ๆ โดยต่อมาก็มีเผ่าลาว-มอญ ที่ได้นำเอาศาสนาพุทธเข้ามาเข้ามาเผยแพร่ในแผ่นดินลาว ซึ่งเมื่อก่อนล้วนแล้วศาสนาพราหมณ์ทั้งหมดตามหนังสืออุรังคธาตุได้เล่าสืบขานกันมาว่า เมืองเวียงจันทน์ก่อร้างสร้างมาจากบ้านเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า "บ้านหนองคันแท้ผีเสื้อน้ำ" (บ้านศรีสังวรในปัจจุบัน) โดย นาย (ลาว: ท้าว) บุรีจันทน์ หรืออ้วยล้วย เป็นเจ้าเมืองแห่งนี้ และได้ตั้งชื่อเมืองว่า เวียงจันทน์ ตามชื่อนามมยดของ บุรีจันทร์ ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการวิจัยหรือค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เล่มไหนยืนยันได้ว่า ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้คือข้อเท็จจริง จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ได้ถูกค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญหลายอย่างเป็นต้นเช่น การถูกค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินและสิลาลึกอยู่สถานที่เดียวกันที่บ้านท่าลาด เมืองแก้วอุดม แขวงเวียงจันทน์ปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนก็เป็นอาณาจักรเขตนครเวียงจันทน์ในสมัยนั้น ที่ยังนับถือศาสนาพุทธของชาวนครเวียงจันทน์[5]

Share it
blog-image

แขวงหลวงพระบาง

  • 14 ก.พ. 2567

หลวงพระบาง หรือ หลวงพะบาง (ลาว: ຫຼວງພະບາງ, ຫລວງພະບາງ) เป็นแขวงหนึ่ง ของประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคาน และมีเมืองเอกซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก

อ่านต่อ
blog-image

แขวงสาละวัน

  • 14 ก.พ. 2567

เวียงจันทน์เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเรืองอำนาจ โดยร่วมยุคสมัยกันกับทวารวดีของไทย เดิมชื่อเมืองจันทปุระหรือเมืองจันทบุรี มีนักปราชญ์ลาว-อีสานหลายกลุ่มได้เขียนประวัติของเมืองเวียงจันทน์ในแต่ละยุคไว้หลากหลายสำนวน เช่น ตำนานเวียงจันทน์พันพร้าว ตำนานพระรัสสีสองพี่น้องสร้างเวียง ตำนานพระลัก-พระลามครองกรุงศรีสัตนาค ตำนานท้าวหูดสามเปาสร้างเวียง ตำนานท้าวคัทธนาม ตำนานพระยาบุรีจันประสิทธิสักกะเทวะ ตำนานท้าวคำพอง-นางบัวเคือ ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานพระยาศรีสัตนาคแปงเวียง ตำนานท้าวเซียงเมี่ยง ตำนานศรีโคตรสาปเวียง ตำนานพระยาจวงขาว ตลอดจนเอกสารพื้นเวียงสำนวนต่างๆ ในครั้งหลวงพระบางเป็นราชธานี เวียงจันทน์มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองเจ้าหัวเศิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่มักถูกส่งลงมาปกครองเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เริ่มเป็นเมืองหลวงแทนหลวงพระบางตั้งแต่ พ.ศ. 2078 ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช จน พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช ถอยหนีพม่ามาตั้งหลักที่เวียงจันทน์จึงถือเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการโดยมีนามเต็มว่า พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ หรือเมืองล้านช้างเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2237 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชก็เสื่อมลง พระองค์มีสนมเอกชื่อนางเขียวค้อม จากนั้น เวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายขึ้นเนือง ๆ นางเขียวค้อมหนีไปบวชชี พญาเมืองจันทน์เป็นขบถจนพระเจ้านันทราชจากนครพนมยกทัพมาปราบ แต่ก็ถูกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ไชย อง เว) นำทัพเวียดนามมาสู้รบจนแยกออกเป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2253 และต่อมาใน พ.ศ. 2256 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก็แยกตัวออกไป อาณาจักรเวียงจันทน์หลังการแบ่งแยกมีอาณาเขตมาถึงนครไทย (อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน) และติดกับจำปาศักดิ์ในบริเวณเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) แต่เพราะราชวงศ์ล้านช้างวิวาทกัน ทำให้เจ้าเมืองต่างๆ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์แยกตัวออกมาตั้งแต่พระบรมราชา (เฮงก่วน) เจ้าประเทศราชนครพนม พระวอพระตาแยกมาตั้งเมืองหนองบัวลำภู เมืองอุบลราชธานีและยศสุนทร (ปัจจุบันคือยโสธร) เจ้าโสมพะมิตร์แยกมาตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เจ้าผ้าขาวแยกมาตั้งเมืองผ้าขาว เมืองพันนา เจ้าจารย์แก้วเจ้าประเทศราชเมืองสุวรรณภูมิ (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม) ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชนบถ และเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์เจ้าประเทศราชมุกดาหาร เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)สมทบกับเจ้าประเทศราชต่าง ๆ และบังคับเจ้านายหัวเมืองลาวทั้งหลายในอีสานบุกโจมตีเวียงจันทน์หลังเหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์ ได้ยกเลิกเจ้าประเทศราช ทางหนองคายได้ให้ท้าวสุวอธรรมาอุปฮาดยโสธรเป็นพระปทุมเทวาภิบาลที่ 1 เจ้าประเทศราชหนองคายอพยพผู้คนมาฝั่งขวา ให้เวียงจันทน์เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับหนองคาย หลังจากนั้นบริเวณเวียงจันทน์ต้องเผชิญศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งสงครามสยาม-เวียดนาม 14 ปี สงครามปราบฮ่อ ต่อมาถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2436 ชาวเวียงจันทน์ที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนำโดยพระกุประดิษฐ์บดี (ชาลี กุประดิษฐ์)จึงอพยพมาอยู่ที่เมืองท่าบ่อหรืออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ฝรั่งเศสได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ ให้ ม.ปาวี เป็นข้าหลวงใหญ่คนแรก เวียงจันทน์ในสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ชื่อว่าปารีสตะวันออก จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2498 และถูกปลดแอกโดยพรรคปฏิวัติประชาชนลาวเมื่อ พ.ศ 2517

อ่านต่อ
blog-image

แขวงหลวงน้ำทา

  • 14 ก.พ. 2567

หลวงน้ำทา (ลาว: ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า

อ่านต่อ