ข้อมูลประเทศลาว

แขวงคำม่วน

  • 13 ก.พ. 2567
  • รายละเอียดแขวงประเทศลาว

แขวงคำม่วน

คำม่วนตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศลาวที่มีพรมแดนติดบลิคำไชย และสะหวันนะเขต คำม่วนมีพื้นที่ประมาณ 16,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเกือบ 400,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำโขงในหุบเขาไปทางทิศตะวันตกและเทือกเขาอันนัมไปทางทิศตะวันออก ซึ่งแยกแขวงคำม่วนออกจากเวียดนาม.

ท่าแขกเป็นเมืองหลวงของคำม่วนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สามารถโยงไปถึงการก่อสร้างอาณานิคมของฝรั่งเศสในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชื่อเมืองในลาวหมายถึง 'เมืองท่าของแขก' ('Khek 'แท้จริงแล้วหมายถึงแขก) ซึ่งอ้างอิงถึงบทบาทก่อนหน้านี้ในฐานะเรือลงจอดสำหรับผู้ค้าต่างประเทศ ศูนย์กลางของเมืองเก่าสามารถพบได้รอบจัตุรัสน้ำพุใกล้แม่น้ำที่ยังคงมีอาคารเก่าแก่หลายแห่ง.

Share it
blog-image

แขวงเวียงจันทน์

  • 14 ก.พ. 2567

เวียงจันทน์ หรือ เวียงจัน (ลาว: ວຽງຈັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ใน พ.ศ. 2558 แขวงนี้มีประชากร 419,090 คน เมื่อปี พ.ศ. 2532 แขวงเวียงจันทน์เดิมได้แบ่งออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเวียงจันทน์ปัจจุบันและนครหลวงเวียงจันทน์ที่มีเขตตัวเมืองเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ หลังจากแบ่งออกเป็นสองแขวงแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือยังคงเรียกว่าแขวงเวียงจันทน์ และได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองของแขวงมาอยู่ที่เมืองโพนโฮง แทนตัวเมืองเวียงจันทน์ชั้นในซึ่งอยู่ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์

อ่านต่อ
blog-image

แขวงไชยสมบูรณ์

  • 14 ก.พ. 2567

ไชยสมบูรณ์ หรือ ไซสมบูน (ลาว: ໄຊສົມບູນ) เป็นแขวงหนึ่งใน 17 แห่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา เริ่มจากทิศเหนือ ดังนี้ แขวงเชียงขวาง แขวงบอลิคำไซ แขวงเวียงจันทน์ และแขวงหลวงพระบาง มีพื้นที่ประมาณ 8,500 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างเย็นตลอดปี การเดินทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ใช้ทางหลวงหมายเลข 13 ใต้ ผ่านแขวงบอลิคำไซ แขวงมีประชากร 81,801 คน (พ.ศ. 2556) แบ่งตามกลุ่มชาติพันธุ์ดังนี้ ชาวม้งร้อยละ 55.71, ชาวลาวลุ่มร้อยละ 25.97 และชาวขมุร้อยละ 18.32 แบ่งได้ 7,800 ครอบครัว ซึ่งในจำนวนนี้ยังประสบความยากจนอยู่ถึง 3,600 ครอบครัว แขวงไชยสมบูรณ์มีเมืองเอกคือเมืองอะนุวง

อ่านต่อ
blog-image

แขวงสาละวัน

  • 14 ก.พ. 2567

เวียงจันทน์เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเรืองอำนาจ โดยร่วมยุคสมัยกันกับทวารวดีของไทย เดิมชื่อเมืองจันทปุระหรือเมืองจันทบุรี มีนักปราชญ์ลาว-อีสานหลายกลุ่มได้เขียนประวัติของเมืองเวียงจันทน์ในแต่ละยุคไว้หลากหลายสำนวน เช่น ตำนานเวียงจันทน์พันพร้าว ตำนานพระรัสสีสองพี่น้องสร้างเวียง ตำนานพระลัก-พระลามครองกรุงศรีสัตนาค ตำนานท้าวหูดสามเปาสร้างเวียง ตำนานท้าวคัทธนาม ตำนานพระยาบุรีจันประสิทธิสักกะเทวะ ตำนานท้าวคำพอง-นางบัวเคือ ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานพระยาศรีสัตนาคแปงเวียง ตำนานท้าวเซียงเมี่ยง ตำนานศรีโคตรสาปเวียง ตำนานพระยาจวงขาว ตลอดจนเอกสารพื้นเวียงสำนวนต่างๆ ในครั้งหลวงพระบางเป็นราชธานี เวียงจันทน์มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองเจ้าหัวเศิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่มักถูกส่งลงมาปกครองเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เริ่มเป็นเมืองหลวงแทนหลวงพระบางตั้งแต่ พ.ศ. 2078 ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช จน พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช ถอยหนีพม่ามาตั้งหลักที่เวียงจันทน์จึงถือเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการโดยมีนามเต็มว่า พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ หรือเมืองล้านช้างเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2237 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชก็เสื่อมลง พระองค์มีสนมเอกชื่อนางเขียวค้อม จากนั้น เวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายขึ้นเนือง ๆ นางเขียวค้อมหนีไปบวชชี พญาเมืองจันทน์เป็นขบถจนพระเจ้านันทราชจากนครพนมยกทัพมาปราบ แต่ก็ถูกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ไชย อง เว) นำทัพเวียดนามมาสู้รบจนแยกออกเป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2253 และต่อมาใน พ.ศ. 2256 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก็แยกตัวออกไป อาณาจักรเวียงจันทน์หลังการแบ่งแยกมีอาณาเขตมาถึงนครไทย (อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน) และติดกับจำปาศักดิ์ในบริเวณเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) แต่เพราะราชวงศ์ล้านช้างวิวาทกัน ทำให้เจ้าเมืองต่างๆ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์แยกตัวออกมาตั้งแต่พระบรมราชา (เฮงก่วน) เจ้าประเทศราชนครพนม พระวอพระตาแยกมาตั้งเมืองหนองบัวลำภู เมืองอุบลราชธานีและยศสุนทร (ปัจจุบันคือยโสธร) เจ้าโสมพะมิตร์แยกมาตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เจ้าผ้าขาวแยกมาตั้งเมืองผ้าขาว เมืองพันนา เจ้าจารย์แก้วเจ้าประเทศราชเมืองสุวรรณภูมิ (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม) ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชนบถ และเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์เจ้าประเทศราชมุกดาหาร เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)สมทบกับเจ้าประเทศราชต่าง ๆ และบังคับเจ้านายหัวเมืองลาวทั้งหลายในอีสานบุกโจมตีเวียงจันทน์หลังเหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์ ได้ยกเลิกเจ้าประเทศราช ทางหนองคายได้ให้ท้าวสุวอธรรมาอุปฮาดยโสธรเป็นพระปทุมเทวาภิบาลที่ 1 เจ้าประเทศราชหนองคายอพยพผู้คนมาฝั่งขวา ให้เวียงจันทน์เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับหนองคาย หลังจากนั้นบริเวณเวียงจันทน์ต้องเผชิญศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งสงครามสยาม-เวียดนาม 14 ปี สงครามปราบฮ่อ ต่อมาถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2436 ชาวเวียงจันทน์ที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนำโดยพระกุประดิษฐ์บดี (ชาลี กุประดิษฐ์)จึงอพยพมาอยู่ที่เมืองท่าบ่อหรืออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ฝรั่งเศสได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ ให้ ม.ปาวี เป็นข้าหลวงใหญ่คนแรก เวียงจันทน์ในสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ชื่อว่าปารีสตะวันออก จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2498 และถูกปลดแอกโดยพรรคปฏิวัติประชาชนลาวเมื่อ พ.ศ 2517

อ่านต่อ