ข้อมูลประเทศลาว

แขวงเชียงขวาง

  • 13 ก.พ. 2567
  • รายละเอียดแขวงประเทศลาว

 

แขวงเชียงขวาง

เชียงขวาง (Xiangkhoang) คือแขวงหนึ่งของ สปป.ลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 400 กิโลเมตร เชียงขวางมีพรมแดนติดประเทศเวียดนาม มีเมืองโพนสะวันเป็นเมืองเอก แต่เดิมเป็นเมืองคูน ถิ่นที่อยู่ของชาวไทพวน  (ลาวพวน) แต่ในช่วงสงครามอินโดจีน หรือ สงครามเวียดนาม เมืองคูนถูกทหารอเมริกันนำระเบิดมาทิ้งอย่างหนัก ผู้คนล้มตายมากมาย บ้านเรือนเสียหายยับเยิน จนหลังสงครามทางการลาวต้องย้ายหน่วยราชการมาตั้งเมืองเอกแห่งใหม่ที่เมือง‘โพนสะหวัน’ ที่อยู่ห่างเมืองคูนราว 30 กม.

เมืองเชียงขวางมีหลายฉายาด้วยกัน ฉายาหลักๆ มาจากการเคยเป็นสมรภูมิการสู้รบในสงครามเวียดนาม ทำให้เมืองนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ดินแดนแห่งการปลดแอก (จากอเมริกา), ดินแดนแห่งวีรชน, ดินแดนแห่งการปฏิวัติ แต่ฉายาอันโดดเด่นของเชียงขวางนั่นก็คือ “ดินแดนแห่งสาวงาม” เพราะสาวลาวพวนที่นี่ทั้งสวย ทั้งแกร่ง อีกฉายาหนึ่งคือ “ดินแดนแห่งความหนาว” ที่พอเดินทางเข้าเขตเชียงขวาง เราจะสัมผัสได้ถึงไอแห่งความหนาวเย็นทันที เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่บนระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยเกิน 1,000เมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน

เชียงขวางมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย แต่สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นั่นก็คือ ทุ่งไหหิน

สถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ วัดเพีย คำว่า ‘เพีย’ แปลว่า ‘ขุนนาง’ วัดเก่าแก่อายุนับร้อยปี ในวัดเพียมีซากโบสถ์โบราณที่ถูกระเบิดถล่มเหลือเพียงพื้น เสา และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองคูน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ราว ค.ศ. 1576 องค์เดิมเป็นองค์เล็กทำด้วยทองสำริด ส่วนองค์ที่เห็นในปัจจุบันเกิดจากการสร้างปูนพอกครอบด้านนอกด้วยศิลปะล้านช้าง

นอกจากนั้นยังมี ถ้ำพิ่ว หรือ ถ้ำปิว เป็นถ้ำอนุสรณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติลาว ในช่วงสงครามลับที่สหรัฐอเมริกาส่งกองกำลังทหารรับจ้าง และเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีลาวอย่างหนักในช่วงปี ค.ศ. 1964 – 1973 ถ้ำปิวเป็นถ้ำที่ประชาชนบ้านลวมลอง เมืองคำ ใช้เป็นสถานที่หลบภัยสงคราม จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2511 สหรัฐส่งฝูงบินโจมตีทิ้งระเบิดถล่มอย่างหนัก เครื่องบินรบยิงขีปนาวุธชนิดจากอากาศสู่พื้น จำนวน 4 ลูกถล่มใส่ถ้ำปิว โดยลูกแรกตกที่ปากถ้ำ ส่วนอีก 3 ลูกพุ่งเข้าไปในถ้ำ ชาวบ้านที่หลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำเสียชีวิตทันที 374 คน

เทือกเขาที่เชียงขวางมีความแปลกตาและสวยงามมากๆ เพราะเป็นภูเขาหญ้าเขียวชอุ่มสวยงาม เห็นเป็นแนวกว้างไกลสุดสายตา ยามเช้าวันฟ้าใสจะเห็นสายหมอกขาวลอยอ้อยอิ่ง และจะมีชาวบ้านนำวัว ควายออกหากินหญ้า ด้วยบรรยากาศแบบนี้ ชาวลาวหลายคนจึงตั้งอีกหนึ่งฉายาให้กับเชียงขวางว่า นิวซีแลนด์แดนลาว

Share it
blog-image

แขวงสาละวัน

  • 14 ก.พ. 2567

เวียงจันทน์เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเรืองอำนาจ โดยร่วมยุคสมัยกันกับทวารวดีของไทย เดิมชื่อเมืองจันทปุระหรือเมืองจันทบุรี มีนักปราชญ์ลาว-อีสานหลายกลุ่มได้เขียนประวัติของเมืองเวียงจันทน์ในแต่ละยุคไว้หลากหลายสำนวน เช่น ตำนานเวียงจันทน์พันพร้าว ตำนานพระรัสสีสองพี่น้องสร้างเวียง ตำนานพระลัก-พระลามครองกรุงศรีสัตนาค ตำนานท้าวหูดสามเปาสร้างเวียง ตำนานท้าวคัทธนาม ตำนานพระยาบุรีจันประสิทธิสักกะเทวะ ตำนานท้าวคำพอง-นางบัวเคือ ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานพระยาศรีสัตนาคแปงเวียง ตำนานท้าวเซียงเมี่ยง ตำนานศรีโคตรสาปเวียง ตำนานพระยาจวงขาว ตลอดจนเอกสารพื้นเวียงสำนวนต่างๆ ในครั้งหลวงพระบางเป็นราชธานี เวียงจันทน์มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองเจ้าหัวเศิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่มักถูกส่งลงมาปกครองเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เริ่มเป็นเมืองหลวงแทนหลวงพระบางตั้งแต่ พ.ศ. 2078 ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช จน พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช ถอยหนีพม่ามาตั้งหลักที่เวียงจันทน์จึงถือเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการโดยมีนามเต็มว่า พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ หรือเมืองล้านช้างเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2237 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชก็เสื่อมลง พระองค์มีสนมเอกชื่อนางเขียวค้อม จากนั้น เวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายขึ้นเนือง ๆ นางเขียวค้อมหนีไปบวชชี พญาเมืองจันทน์เป็นขบถจนพระเจ้านันทราชจากนครพนมยกทัพมาปราบ แต่ก็ถูกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ไชย อง เว) นำทัพเวียดนามมาสู้รบจนแยกออกเป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2253 และต่อมาใน พ.ศ. 2256 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก็แยกตัวออกไป อาณาจักรเวียงจันทน์หลังการแบ่งแยกมีอาณาเขตมาถึงนครไทย (อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน) และติดกับจำปาศักดิ์ในบริเวณเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) แต่เพราะราชวงศ์ล้านช้างวิวาทกัน ทำให้เจ้าเมืองต่างๆ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์แยกตัวออกมาตั้งแต่พระบรมราชา (เฮงก่วน) เจ้าประเทศราชนครพนม พระวอพระตาแยกมาตั้งเมืองหนองบัวลำภู เมืองอุบลราชธานีและยศสุนทร (ปัจจุบันคือยโสธร) เจ้าโสมพะมิตร์แยกมาตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เจ้าผ้าขาวแยกมาตั้งเมืองผ้าขาว เมืองพันนา เจ้าจารย์แก้วเจ้าประเทศราชเมืองสุวรรณภูมิ (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม) ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชนบถ และเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์เจ้าประเทศราชมุกดาหาร เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)สมทบกับเจ้าประเทศราชต่าง ๆ และบังคับเจ้านายหัวเมืองลาวทั้งหลายในอีสานบุกโจมตีเวียงจันทน์หลังเหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์ ได้ยกเลิกเจ้าประเทศราช ทางหนองคายได้ให้ท้าวสุวอธรรมาอุปฮาดยโสธรเป็นพระปทุมเทวาภิบาลที่ 1 เจ้าประเทศราชหนองคายอพยพผู้คนมาฝั่งขวา ให้เวียงจันทน์เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับหนองคาย หลังจากนั้นบริเวณเวียงจันทน์ต้องเผชิญศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งสงครามสยาม-เวียดนาม 14 ปี สงครามปราบฮ่อ ต่อมาถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2436 ชาวเวียงจันทน์ที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนำโดยพระกุประดิษฐ์บดี (ชาลี กุประดิษฐ์)จึงอพยพมาอยู่ที่เมืองท่าบ่อหรืออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ฝรั่งเศสได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ ให้ ม.ปาวี เป็นข้าหลวงใหญ่คนแรก เวียงจันทน์ในสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ชื่อว่าปารีสตะวันออก จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2498 และถูกปลดแอกโดยพรรคปฏิวัติประชาชนลาวเมื่อ พ.ศ 2517

อ่านต่อ
blog-image

แขวงหลวงพระบาง

  • 14 ก.พ. 2567

หลวงพระบาง หรือ หลวงพะบาง (ลาว: ຫຼວງພະບາງ, ຫລວງພະບາງ) เป็นแขวงหนึ่ง ของประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคาน และมีเมืองเอกซึ่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก

อ่านต่อ
blog-image

แขวงหลวงน้ำทา

  • 14 ก.พ. 2567

หลวงน้ำทา (ลาว: ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า

อ่านต่อ